วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

มวยไทย

มวยไทย
มวยไทยเป็นการเล่นพื้นบ้าน ที่มีคุณลักษณะของการต่อสู้ป้องกันตัว ด้วยการใช้อวัยวะใน ส่วนที่สามารถใช้ทำอันตรายคู่ต่อสู้ได้ มาใช้งานอย่างชาญฉลาด และมีศิลปอย่างสูง เช่น หมัด ศอกแขน เท้า แข้ง และเข่าเป็นต้น นับเป็นศิลปะประจำชาติ และเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นประการหนึ่งของคนไทย ได้มีการนำมาใช้ประโยชน์อย่างจริงจังในหมู่ทหาร เพราะในประวัติศาสตร์ชาติ ไทยที่ต้องผจญกับศึกสงครามมาโดยตลอด จึงต้องฝึกฝนไว้ให้เชี่ยวชาญเพื่อใช้ในการต่อสู้ มีการจัดตั้งสำนักมวยขึ้นฝึกสอนกันโดยทั่วไป ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีผู้ที่ชื่อเสียงโด่งดังในเชิงมวยไทย จนเป็นที่เลื่องลือมาจนถึงปัจจุบันคือ นายขนมต้ม ที่ สามารถใช้วิชามวยไทย เอาชนะศัตรูได้เป็นจำนวนมาก แม้แต่พระมหากษัตริย์ของไทยบางพระองค์ในสมัยอยุธยาก็ทรงโปรดปราณ และมีความสามารถในวิชามวยไทย เช่น พระเจ้าเสือหรือ ขุนหลวงสรศักดิ์ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ได้ ทรงส่งเสริมวิชามวยไทยให้แพร่หลายยิ่งขึ้นโดยได้ทรงจัดให้มีการแข่งขันชกมวย ไทยการกุศล เพื่อเก็บรายได้ไปบำรุงกองเสือป่าขึ้นที่เวทีมวยโรงเรียนสวนกุหลาบ เมื่อ พ.ศ. 2463 สำหรับเวทีมวยไทยอื่นๆ ในครั้งนั้นก็มี เวทีสวนเจ้าเชตุและเวทีหลักเมืองเป็นต้น การ ชกมวยไทย เป็นการชกด้วยหมัดเปล่าๆ ต่อมาเมื่อมีการแข่งขัน ก็ได้มีการคาดเชือกที่มือ และในระยะต่อมา จึงใช้สวมนวมแทนแบบมวยสากล
คุณลักษณะของมวยไทย มวย ไทยใช้อวัยวะ 6 ชนิด ในการต่อสู้กับปรปักษ์ ได้แก่ หมัด ศอก แขนท่อนล่างเท้า แข้ง และเข่า เข้ากระทำกับคู่ต่อสู้ ด้วยการเข้าชก ต่อย เขก โขกทุบ เตะ ถีบ เหน็บ อัด ยัน เหยียบ เหวี่ยง ปัก ทิ่ม เฉือน กระทุ้ง สับ เสียบเฆี่ยน กด ทุ่ม ฟาด มัด รัด หักแขน หักขา หักคอ ฯลฯ อวัยวะแต่ละชนิดดังกล่าวมีวิธีใช้ดังนี้ 1. หมัดใช้ทิ่มกระแทก กระทุ้ง ซึ่งมีทั้งกระทุ้งขึ้นและกระทุ้งลง เหวี่ยง ซึ่งมีซึ่งเหวี่ยงสั้นและเหวี่ยงยาวเขก โขก และทุบ 2. ศอกใช้เหวี่ยง ปัก งัด ทิ่ม เฉือน กด และกระทุ้ง 3. แขนท่อนล่าง ใช้สับ เสียบ ปัด เหวี่ยง และเฆี่ยน 4. เท้า ใช้ถีบ เหน็บ อัด คือการเตะด้วยปลายโต่ง ยัน เหยียบ เตะ และกระตุกเท้า 5. แข้งใช้เหวี่ยงซึ่งมีทั้งเหวี่ยงสั้นและเหวี่ยงยาว 6. เข่าใช้ยิงโยน ยัด เหวี่ยง กุด และกระตุก ไม้มวย เป็น การใช้อวัยวะต่างๆ ดังกล่าว ประกอบกับการเคลื่อนไหวร่างกายที่ผสมกลมกลืนในการรุกและรับซึ่งก็คือการเข้า กระทำต่อคู่ต่อสู้ และการป้องกันตัว ซึ่งนับว่าเป็นศิลปะที่มีการประยุกต์ใช้ให้เกิดผลในรูปแบบต่างๆ ไม่มีที่สิ้นสุด แม่ไม้ คือ ท่าครู เป็นท่าย่างสามขุมที่มีองค์ประกอบของการต่อสู้ และการป้องกันตัวอยู่พร้อมแต่ละครูแต่ละสำนักจะกำหนดท่าขึ้น อันเป็นแบบอย่างของแต่ละคนไป ลูกไม้ หรือไม้มวยไทยมีทั้งไม้เด็ด ไม้ตาย และไม้เป็น ไม้เด็ด คือลูกไม้ที่มีประสิทธิภาพ และมีอันตรายสูงแก่คู่ต่อสู้ ไม้ตาย คือไม้ มวยที่เมื่อฝ่ายที่กระทำใช้ไม้นี้ออกไป ผู้ถูกกระทำจะไม่สามารถป้องกันแก้ไขได้ ไม้เป็น คือไม้มวยที่เมื่อฝ่ายหนึ่งใช้ออกไป อีกฝ่ายหนึ่งสามารถป้องกันแก้ไขได้ ถ้ารู้วิธี
การไหว้ครู ใน การแสดงศิลปวิทยาต่างๆ ย่อมมีครูบาอาจารย์เป็นผู้ประสิทธ์ประสาทวิชาการให้ เป็นประเพณีของชาวไทย ซึ่งอบรมสั่งสอนกันมา ในเรื่องความกตัญญูรู้คุณต่อท่านผู้มีพระคุณ เมื่อรู้คุณแล้วก็จะต้องมี กตเวที คือตอบแทนพระคุณในรูปแบบต่างๆ การไหว้ครูเป็นผลจากคุณธรรมดังกล่าวแล้ว ดัง นั้น มวยไทยซึ่งเป็นศิลปวิทยาแขนงหนึ่ง จึงอยู่ในกรอบประเพณีดังกล่าวอย่างเคร่งครัด ต้องมีพิธีไหว้ครูก่อนทำการ แข่งขัน สำหรับท่าไหว้ครูมีท่าถวายบังคมเป็น ท่าเริ่มแรกนั้น กล่าวกันว่า ในสมัยก่อนการชกมวยไทยมักจะจัดขึ้นหน้าพระที่นั่ง พระมหากษัตริย์มักจะเสด็จออกทอดพระเนตร นักมวยที่จะเข้าแข่งขันเมื่อขึ้น สังเวียนแล้ว จึงต้องเริ่มด้วยการถวายบังคมด้วยลีลาท่าทางของนักมวย การไหว้ครูมีท่ารำอยูหลายท่า ตามแต่ครูบาอาจารย์และเจ้าสำนักมวยต่างๆ จะประดิษฐ์คิดขึ้นมาเป็นแบบอย่าง เช่น ท่าเบญจางคประดิษฐท่าเทพพนมพรหมสี่หน้า ท่าสาวน้อยประแป้ง ท่าหนุมานตบยุง ไม้มวย หรือลูกไม้ เป็น แบบฉบับการใช้อาวุธจากอวัยวะต่างๆดังกล่าวข้างต้น ประกอบกับการเคลื่อนไหวร่างกายทุกส่วนอย่างผสมกลมกลืน เพื่อป้องกันการกระทำ ของคู่ต่อสู้ ในขณะเดียวกันก็มีการโต้ตอบกลับไป ตามโอกาสและจังหวะจะโคนของการกระทำนั้นๆ แบบอย่างดังกล่าว มีชื่อเรียกตามลักษณะของการป้องกันและตอบโต้ พอประมวลได้ดังนี้ (ในภาพฝ่ายคาดมงคลขาวเป็นฝ่ายกระทำ ฝ่ายคาดมงคลดำเป็นฝ่ายป้องกันและตอบโต้)




มวย




สลับฟันปลา
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันและหลบหลีกอาวุธของคู่ต่อส
ใน ภาพ ฝ่ายขาวใช้หมัดซ้ายทิ่มเข้าหน้าฝ่ายดำ ฝ่ายดำเบี่ยงตัวมาทางขวาด้วยการก้าวเท้าซ้ายถอยหลังหรือสืบเท้าขวาไปข้าง หน้า แล้วใช้ฝ่ามือขวาผลักแขนของฝ่ายดำออกไปทางซ้าย ถ้าฝ่ายขาวใช้หมัดขวาการ ป้องกันและตอบโต้ก็ท่าทำนองเดียวกัน แต่เป็นลักษณะตรงกันข้ามคือ เบี่ยงตัวมาทางซ้าย แล้วใช้ฝ่ามือซ้ายตบผลักแขนของฝ่ายดำออกไปทางขวา การยักย้ายถ่ายเทดังกล่าว ของทั้งสองท่า มีอาการเคลื่อนไหวของร่างกายและแขนในลักษณะสลับฟันปลาเป็นการป้องกัน ก่อนที่จะหาโอกาสตอบโต้ในจังหวะที่เหมาะสมต่อไป




ปักษาแหวกรัง
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันและตอบโต้ เมื่อคู่ต่อสู้เข้าปล้ำและกอดรัด
ใน ภาพ ฝ่ายขาวเคลื่อนตัวเข้าหาฝ่ายดำและใช้แขนทั้งสองจะเข้ากอดรัด ฝ่ายดำยกแขน ทั้งสองสอดเข้ากลาง ระหว่างแขนของฝ่ายขาว ใช้แขนท่อนล่างทั้งสองแขนกันไว้ ไม่ให้ฝ่ายดำโอบแขนเข้ามาได้ เป็นการป้องกัน พร้อมกันนั้นก็ใช้เข่าจะเป็นเข่าใดก็ได้ตามจังหวะการเคลื่อนไหวขณะนั้น ยัดหรือแทงเข่าเข้าไปที่ลำตัวของคู่ต่อสู้ เป็นการตอบโต้


ชวาซัดหอกเป็นไม้มวยใช้ป้องกันหมัดคู่ต่อสู้และตอบโต้ด้วยศอก
ใน ภาพ ฝ่ายขาวใช้หมัดขวาทิ่มเข้าตรงหน้าฝ่ายดำ ฝ่ายดำก้มตัวหลบทางขวาพร้อมกันนั้นก็ใช้ฝ่ามือขวากันแขนขวาของฝ่ายขาวออกไป ทางซ้าย เป็นการป้องกัน ในขณะเดียวกันก็สืบเท้าซ้ายไปข้างหน้า พร้อมกับใช้ศอกซ้าย เหวี่ยงหรือกระทุ้งเข้าที่กลางลำตัวของฝ่ายขาว เป็นการตอบโต้





อิเหนาแทงกริช
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันหมัดคู่ต่อสู้ และตอบโต้ด้วยเข่า
ใน ภาพฝ่ายขาวใช้หมัดขวาทิ่มเข้าตรงหน้าฝ่ายดำ ฝ่ายดำใช้ฝ่ามือขวากันแขนของฝ่ายขาวออกไปทางซ้าย เป็นการป้องกัน ในขณะเดียวกันก็ใช้เข่าซ้าย แทงเข้าที่กลางลำตัวของฝ่ายขาวเป็นการตอบโต้

งานฝีมือ

งานฝีมือ

บทที่3

กระบวนการสื่อสาร
.....มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตตลอดชีวิต การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ต้องอาศัยการสื่อสารเป็นปัจจัยหลัก ดังนั้นการสื่อสารจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับครูผู้สอนหรือผู้เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนการสอนความหมายของการสื่อสาร
.....การสื่อสารหมายถึง กกระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลต่างๆ หรือการถ่ายทอดความรู้เนื้อ หา สาระ ความรู้สึก เจตคติ ทักษะจากผู้ส่งไปยังผู้รับด้วยการใช้ถ้อยคำ กริยาท่าทางหรือสัญลักษณ์ ซึ่งมีผลทำให้เกิดความเข้าใจและความรู้สึกร่วมกันหน้าที่ของกระบวนการสื่อสาร
.....1. การสื่อสารในฐานะเครื่องมือให้ได้สิ่งที่ต้องการ
.....2. การสื่อสารเพื่อควบคุมสั่งการ
....3. การสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์
.....4. การสื่อสารส่วนบุคคล
.....5. การสื่อสารเพื่อเสาะแสวงหาคำตอบ
.....6. การสื่อสารเพื่อสร้างจินตนาการรูปแบบของการสื่อสาร แต่ละรูปแบบมีลักษณะสลับซับซ้อนแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยหรือองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นลักษณะของผู้ส่งและผู้รับ การรู้จักเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่เหมาะสมกับแต่ละโอกาสจะช่วยให้กระบวนการสื่อสารแต่ละครั้งประสบผลสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพรูปแบบของการสื่อสารจำแนกได้ดังนี้
...1. การจำแนกตามลักษณะของการสื่อสาร
.....1.1 การสื่อสารด้วยภาษา เป็นภาษาที่ไม่ใช่ลายลักษณ์อักษร
.....1.2 การสื่อสารด้วยภาษาท่าทางหรือสัญญาณ เป็นภาษาที่ไม่ใช่คำพูดหรือการเปล่งเสียงหรือเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ
.....1.3 การสื่อสารด้วยภาษาภาพ ภาษาที่เกิดจากการขีดเขียนเป็นรูปภาพ
...2. จำแนกตามปฏิสัมพันธ์ของผู้รับและผู้ส่ง
.....2.1 สื่อสารทางตรง เป็นการสื่อสารที่ผู้ส่งและผู้รับมีปฏิสัมพันธ์กันและกันโดยตรงเนื้อหาและวัตถุประสงค์
.....2.2 การสื่อสารทางอ้อม เป็นการสื่อสารที่อาศัยสื่อหรือวิธีการต่างๆ เป็นพาหนะในการถ่ายทอดเนื้อหา
...3. จำแนกตามพฤติกรรมในการโต้ตอบ
....3.1 การสื่อสารทางเดียว เป็นสื่อสารที่ผู้ส่งเป็นกระทำแต่ฝ่ายเดียว
.....3.2 การสื่อสารสองทาง เป็นการสื่อสารที่ผู้ส่งและผู้รับมีโอกาสโต้ตอบกันได้ทันทวงที
...4. จำแนกตามจำนวนของผู้ร่วมสื่อสาร
.....4.1 การสื่อสารในตนเอง ตัวเองเป็นผู้ส่งและผู้รับในขณะเดียวกัน
.....4.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล สื่อสารระหว่างบุคคล 2 คน อาจแลกเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ส่งและผู้รับ
.....4.3 การสื่อสารแบบกลุ่มบุคคล มีจำนวนผู้ส่งและผู้รับมากกว่าการสื่อสารระหว่างบุคคล
.....4.4 การสื่อสารมวลชน การสื่อสารกับกลุ่มชนจำนวนมากกมายมหาศาลอุปสรรคในการสื่อสาร
.....1. ผู้ส่งสารขาดความสามารถ
.....2. ความบกพร่องของสื่อหรือช่องทาง
.....3. ผู้รับสารขาดความรู้ความชำนาญเรื่องที่จะรับ
.....4. อุปสรรคจากสิ่งรบกวน ภายนอกและภายใน
.....5. สารมีความยาวไม่เหมาะสม
.....6. ผู้ส่งและผู้รับมีความแตกต่างในด้านภาษาการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
....เป็นการสื่อสารแบบสองทางผู้ส่งและผู้รับสามารถโต้ตอบกันได้ทันทีทันใด เนื้อหาเรื่องราวต้องเหมาะกับธรรมชาติของผู้รับการสื่อสารกับการรับรู้และการเรียนรู้
.....การรับรู้ สิ่งเร้าที่ผ่านอวัยวะรับสัมผัสทั้งหลายรับข้อมูลข่าวสารในระยะแรกนำเข้าสู่สมอง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเดิมไปสู่ พฤติกรรมใหม่ ที่ค่อนข้างถาวรซึ่งเรียกว่า การเรียนรู้แบบจำลองของการสื่อสาร
.....1. แบบจำลองของลาสเวลล์
....2. แบบจำลองของแวนนอนและวีเวอร์
.....3. แบบจำลองของ-เบอร์โล
.....4. แบบจำลองการสื่อสารของบาร์นลันด์การสื่อสารในการเรียนการสอน
......ควรคำนึงถึงกระบวนการสื่อสารระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน การปรับใช้การสื่อสารกับกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและความล้มเหลวของการสื่อสารในกระบวนการเรียนการสอน
.....1. กระบวนการสื่อสารในการเรียนการสอน เป็นรูปแบบของการสื่อสารระหว่างครูผู้สอนหรือสื่ออื่นๆ
.....2. ลักษณะการสื่อสารระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน
.....3. การปรับใช้การสื่อสารกับกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
.....4. ความล้มเหลวของการสื่อสารในกระบวนการเรียนการสอนบทสรุป.....การสื่อสารกระบวนการถ่ายทอดเนื้อหาและความรู้สึกนึกคิดประกอบด้วย ผู้ส่งเนื้อหา สาระ สื่อหรือช่องทางและผู้รับการสื่อสารมีความสัมพันธ์กับการรับรู้และการเรียนรู้ มีจุดประสงค์และกระบวนการเหมือนกัน